การบำรุงรักษาเชิงป้องกันระบบไฟฟ้า (Preventive Maintenance)
การบํารุงงรักษาเชิงป้องกันระบบไฟฟ้าโรงงาน เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความปลอดภัยในโรงงานนายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบํารุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยตามกฎกระทรวงกําหนด มาตรฐานในการบริหาร จัดการและดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 โดยทั่วไปแล้วงานตรวจสอบและซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้าถือเป็นหัวใจสําคัญของระบบการผลิต เพื่อให้ระบบไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ยาวนานและมีความเชื่อถือได้ สิ่งสําคัญของการบํารุงรักษาเชิงป้องกันคือ การตรวจสอบสภาพเพื่อให้ทราบว่าระบบหรืออุปกรณ์มีร่องรอยการเสื่อมสภาพหรือไม่ มีสภาพที่ต้องการบํารุงรักษาหรือไม่ ในการตรวจสอบสามารถทำได้ 2 แบบ คือการตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection) และการตรวจสอบ,ทดสอบด้วยเครื่องมือวัด ซึ่งต้องการความรู้ในการใช้เครื่องมือวัดและการวิเคราะห์ด้วย
รายละเอียดการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
PM หม้อแปลงแบบกรองน้ำมัน
- ทำความสะอาดชุดลูกถ้วยฉนวนด้านแรงสูง-แรงต่ำ ของหม้อแปลง
- ตรวจสอบและกวดขันแน่นจุดต่อสายไฟฟ้าของหม้อแปลง
- เปลี่ยนสารดูดความชื้น Silica Gel (ถ้ามี)
- ตรวจสอบและวัดค่าความเป็นฉนวนของขดลวดหม้อแปลง
- ตรวจสอบและวัดค่ากราวด์ของหม้อแปลง
- ตรวจสอบค่าความเป็นฉนวนของน้ำมันหม้อแปลง
- กรองความชื้นในน้ำมัน
PM MDB, ตู้ย่อย
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ภายในตู้, สายไฟ, Busbar, ภายนอกตู้และบริเวณโดยรอบตู้
- ทำความสะอาดชุดควบคุมด้วยน้ำยาสเปรย์ Contact Cleaner
- ทำการกวดขันนอตและสกรูจุดต่อต่างๆ พร้อมมาร์คจุดด้วยหมึกเคมี
- ตรวจวัดค่าความเป็นฉนวนของสายไฟ
- ตรวจสอบการต่อลงดินและวัดค่าความต้านทานดิน
-วัดค่าการเก็บประจุของ Capacitor bank
- ตรวจสอบแมคเนติคคอนแทคเตอร์และหน้าสัมผัส
- ตรวจสอบค่าความเป็นตัวนำไฟฟ้าของ Fuse, Breaker
- ทดส อบการทำงานของเบรคเกอร์ Test Trip
11 ส.ค. 2564
ผู้ชม 694 ครั้ง